ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ลายเส้นและการออกแบบ



เส้น คือ การนำจุดมาวางเรียงต่อๆกันไปเรื่อยๆก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว  เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิดเส้นสามารถให้ความหมาย แสดงความรู้สึกและอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง
เส้นแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1.เส้นตรง แบ่งออกเป็น
      1.1.เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูงสง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
      1.2.เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
      1.3.เส้นเฉียง หรือ เส้นทแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง
      1.4.เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซกแบบฟันปลา ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวอย่างเป็นจังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
      1.5.เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาดหายไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด
เส้น1.1
2.เส้นโค้ง  แบ่งออกเป็น
       2.1.เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้าลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล
       2.2เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
       2.3.เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทางที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง

 เส้น1.2
การออกแบบ  หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน แบบที่คิดออกมาอาจเป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริง หรือแบบที่เป็นลักษณะเพื้อฝัน เป็นเพียงนามธรรมก็ได้
     หลักทั่วไปก่อนการออกแบบ จะต้องพิจารณาหรือคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
การออกแบบรูปร่างต่าง
        1.    รูปร่าง (Shape) คือ รูปแบน ๆ มี 2 มิติ มีความกว้างกับความยาวไม่มีความหนา เช่น รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม
 รูปร่าง
        2.  รูปทรง (Form) คือ รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิติ โดยนอกจากจะแสดง ความกว้าง   ความยาวแล้ว ยังมีความลึก หรือความหนา นูน ด้วย  เช่น รูปทรงกลม  ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น
 รูปทรง
        3.  ขนาดและสัดส่วน
        ขนาด (Dimensions) หมายถึง ลักษณะของวัตถุ ที่จะเขียน คือ มีลักษณะใหญ่เล็ก กว้างยาว ตามที่เรารับรู้ได้ ตามหลักการมองเห็นภาพด้วยสายตา ของเราคือ วัตถุชนิดเดียวกัน ขนาดเท่ากัน อยู่ใกล้กว่าจะมีขนาด  ใหญ่กว่าวัตถุที่อยู่ไกล ออกไป และยิ่งอยู่ไกลมากเท่าไร ก็ยิ่งเล็กลงไปจนมองไม่เห็น
        สัดส่วน (Proportion) หมายถึง การจัดภาพ หรือ การเขียนภาพให้ได้ขนาดและที่สว่างจนเกิดความสมส่วน  ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดความสัมพันธ์กันด้วยดี ในการปฏิบัติงานศิลปะ สัดส่วนมีความสำคัญมากจะต้องมีความสัมพันธ์กับขนาดเป็นอย่างดีด้วย ขนาดและสัดส่วนมีความสัมพันธ์กับรูปร่าง  รูปทรง เมื่อเรานำรูปร่าง รูปทรง มาจัดองค์ประกอบเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดความรู้สึกดังนี้
        - ขนาดใกล้เคียงกัน ให้ความรู้สึกกลมกลืน
        - ขนาดต่างกัน ให้ความรู้สึกขัดแย้ง
       4. สีสันและความสวยงาม (colour) การออกแบบต้องมีเรื่องการใช้สีเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเพราะสีนั้นมีประโยชน์ด้านความรู้สึก      
                สีแสด            ให้ความรู้สืึก        ตื่นเต้น
               สีน้ำเงิน          ให้ความรู้สึก        เคร่งขรึม
               สีชมพู            ให้ความรู้สึก        อ่อนหวาน
        5. ประโยชน์ใช้สอย (Use) การออกแบบนั้นจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย ผลิตผลงานเมื่อออกมาแล้วสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง และมีความสอดคล้องกับการใช้งานเช่น ออกแแบบแจกันสำหรับใส่ดอกไม้ ออกแบบโอ่งสำหรับใส่น้ำ เป็นต้น
        6. ความประหยัด (Economize) ความประหยัดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก การออกแบบต้งอคำนึงถึงทุนที่ใช้ต้องน้อยที่สุด ต้องประหยัดไม่ใช้งบประมาณให้สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
       7. มีคุณค่า (Worthy) การออกแบบต้องเน้นที่การเพิ่มคุณค่า โดยการออกแบบที่มีรายละเอียดเพิ่มผลงาน มีความประณีต เรียบร้อย ความมีคุณค่ามิใช่ที่การตีราคา แต่จะเป็นการประเมินโดยรวมว่า มีคุณค่า
       8. การเลือกใช้ วัสดุ อุปกรณ์ (Material) ต้องให้มีความเหมาะสมกับงาน ควรเป็นวัสดุพื้นบ้านและหาได้ง่ายตามท้องตลาด มีมากพอ หาได้ง่าย ราคาถูก และเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน
       9. กระประบวนการหรือขั้นตอน (Process) การออกแบบต้องคำนึงถึงความยากง่าย ความสลับซับซ้อนของการดำเนินงานหรือการกระทำด้วยเพราะส่วนจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการทำงาน การลดขั้นตอนกระบวนการทำงานลงได้ก็อยู่ที่การออกแบบด้วยเช่นกัน            
ความสำคัญของการวาดเส้นในงานออกแบบ
               การออกแบบเป็นกระบวนการที่สำคัญเป็นอย่างมากในการออกแบบชิ้นงาน หรือผลงานในด้านต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ โฆษณา บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ดังนั่นการออกแบบสร้างสรรค์งาน จึงต้องอาศัยการวาดลายเส้นในการสร้างภาพขึ้นมา เพื่อถ่านถอดความคิด จินตนาการของผู้ที่ต้องการสร้าง หรือต้องการสื่อสาร ให้ออกมาเป็นรูปธรรมมากที่สุด เพื่อที่จะนำมาตัดสินใจก่อนนำไปเพิ่มรายละเอียดที่ถูกต้อง หรือสร้างมันขึ้นมา เพื่อป้องกันการผิดพลาด
การวาดเส้น มีบทบาทต่องานออกแบบเกือบทุกประเภท เช่น
1.การวาดเส้นเป็นตัวช่วยในการสื่อความคิดของผู้ที่ออกแบบได้ดี
2.การวาดเส้นสามารถทำได้สะดวก รวดเร็ว ง่าย และใช้อุปกรณ์เขียนพื้นฐานทั่วไป
3.การวาดเส้นช่วยในการเลือก ดัดแปลง ชิ้นงาน เป็นการกลั่นกรองที่ดีก่อนการสร้างจริงในเชิงธุรกิจเป็น
4.การวาดเส้นช่วยให้ประหยัดเวลา ต้นทุน และได้ผลงานที่มีคุณภาพ
5.การวาดเส้นทำไห้เห็นลักษณะของผลงานได้ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ
6.การวาดเส้น เป็นตัวช่วยบอกรายะเอียดต่างๆ มุมมองของงานออกแบบ
7.การวาดเส้น สามารถถ่ายทอดจิตนาการทุกแนวความคิด 
เครื่องมือและอุปกรณ์ในการวาดเส้นเบื้องต้น
1.ดินสอ ใช้ในการวาดเส้นตามจินตนาการ หรือตามแบบ
2.ปากกา ใช้งานเหมือนดินสอ คือใช้ในการวาดเส้น แต่จะมีข้อเสียกว่าดินสอ คือเรื่องน้ำหนักการไล่ความเข้มอ่อนของเส้น
3.มีด หรือ คัตเตอร์ ใช้ในการเหลาดินสอ
4.ยางลบ ใช้ลบในส่วนที่ไม่ต้องการ
5.กระดาษ เป็นพื้นที่ปราฏภาพ หรือผลงาน
6.ไม้บรรทัด ใช้ในการตีเส้น วัดระยะ
7.พู่กัน-แปรง ใช้ในการระบายสี
8.สี ใช้ในการระบายเพื่อเพิ่มอารมณ์
9.จานผสมสี ใช้ในการผสมสีที่ต้องการ
10.แผ่นกระดานรอง ใช้ในการรองกระดาษเพื่อวาด
อุปกรณ์ววาดภาพ

สี(COLOUR) หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตาสายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึก ต่างๆตามอิทธิพลของสี
สี 1.1
คำจำกัดความของสี
1. แสงที่มีความถี่ของคลื่นในขนาดที่ตามนุษย์สามารถรับสัมผัสได้
2. แม่สีที่เป็นวัตถุ (PIGMENTARY PRIMARY) ประกอบด้วย แดง เหลือง น้ำเงิน
3. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สี
คุณลักษณะของสี
สีแท้ (HUE) คือ สีที่ยังไม่ถูกสีอื่นเข้าผสม เป็นลักษณะของสีแท้ที่มีความสะอาดสดใส เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน
สีอ่อนหรือสีจาง (TINT) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีขาว เช่น สีเทาสีชมพู
สีแก่ (SHADE) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีดำ เช่น สีน้ำตาล
สีสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. สีธรรมชาติ ธรรมชาติ เป็นสีที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ เช่น สีของแสงอาทิตย์ สีของท้องฟ้ายามเช้า เย็น สีของรุ้งกินน้ำ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ ตลอดจนสีของ ดอกไม้ ต้นไม้ พื้นดิน ท้องฟ้า น้ำทะเล
สี 1.2
2. สีที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือได้สังเคราะห์ขึ้น เช่น สีวิทยาศาสตร์ มนุษย์ได้ทดลองจากแสงต่างๆ เช่น ไฟฟ้า นำมาผสมโดยการทอแสงประสานกัน นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการละคร การจัดฉากเวที โทรทัศน์ การตกแต่งสถานที่
สี 1.3
ลายเส้นไทยกับสากลแตกต่างกันอย่างไร
ลายเส้นไทย มีความพลิ้วไหวและเป็นเอกลักาณ์เฉพาะตัวระบายด้วยสีเรียบ ๆ ลักษณะท่าทางต่าง ๆ จะเหนือความเป็นจริงซึ่งไทยมีการสืบทอดตั้งแต่โบราณรุ่นสู้รุ่น จนถึงปัจจุปันยากต่อเรียนแบบ ความสัมพันธ์กลมกลืน ให้ความรู้สึกสงบร่มเย็น ช่วยเสริมสร้างชีวิตความ เป็นอยู่แบบไทยในสังคมปัจจุบัน ในขณะที่สังคมภายนอกเต็มไปด้วยความ สับสนวุ่นวาย และเผยแพร่ ไปสู่สังคมอย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้สร้างคุณค่าทั้งทางด้านความงาม คุณค่าด้านทาง จิตใจ แสดงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยสี ในการเขียนภาพวรรณกรรมไทย นิยมเขียนภาพ ใบหน้าตัวละครให้มีลักษณะที่คล้ายกัน จึงต้องแสดงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย  โดยเฉพาะที่แสดงความแตกต่างต่างได้ชัดเจน ที่สุดก็คือ สีกายของตัวละคร ตัวอย่างเช่น ในวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์และอื่นๆอีกหลายเรื่องของวรรณคดีไทยเสน่ห์ความงามในศิลปะ จะช่วยดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทย การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คุณค่าด้านการพัฒนาเศรษฐกิจไทยควบคู่กับวัฒนธรรมไทย ในสภาพสังคมปัจจุบันที่
ลายเส้นสากลที่ถูกออกแบบมาให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายจึงไม่มีเอกลักษณ์ที่แน่น
 ลายเส้นทั่วไป

ลายเส้นไทย

บทสัมภาษณ์ความแตกต่างระหว่างลายเส้ยไทยและสากล


ผศ.ดร.สำราญ   แสงเดือนฉาย (หัวหน้าสาขาวิชามัลติมีเดีย)


นายปัณณวัฒน์   เพชรบูรณ์ (นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชามัลติมีเดีย)


ที่มา
: https://homegame9.wordpress.com
: http://kruthom.hsw.ac.th/main/content.htm
: https://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/hnwy-thi-1-hlak-kar-cad-xngkh-prakxb-silp-hna3?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1
:https://korndrawing.wordpress.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-drawing/
: https://sites.google.com/site/chaim432555/kar-wad-e

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ผู้จัดทำ

นาย ณรงค์ฤทธิ์ แวววงศ์ 6005067 (ทิว) คณะนิเทศศาสตร์ สาขา มัลติมีเดีย นาย ภูมิพัฒน์ ชัยสนั่น 6004722  (ยิว) คณะนิเทศศาสตร์ สาขา มัลติมีเดีย กลุ่ม Duo Graphic